เอพิมีเทียส (อังกฤษ: Epimetheus, ออกเสียง: /ˌɛpɨˈmiːθiəs/; กรีก: Ἐπιμηθεύς) เป็นไททันซึ่งเป็นน้องชายฝาแฝดของโพรมีเทียสและเป็นสามีของแพนโดรา (สตรีนางแรก) เขาและโพรมีเทียสพี่ชายเป็นเสมือนตัวแทนของมนุษย์ และมีบุคลิกที่ตรงกันข้ามกัน โพรมีเทียสเป็นผู้มีปัญญาและมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ในขณะที่เอพิมีเทียส (ที่แปลว่า การทำก่อนคิด) นั้นเบาปัญญาและมีวิสัยทัศน์ที่แคบ ครั้งที่มหาเทพซูสมีพระประสงค์จะให้มีสิ่งมีชีวิตบนโลก เอพิมีเทียสขอรับมอบหมายให้เป็นผู้ประสาทพรแก่สรรพสัตว์ ให้นกบินได้ แมวล่าหนู สิงโตเป็นเจ้าป่า ฯลฯ ด้วยนิสัยที่ชอบทำก่อนคิด ตนเกิดให้พรจนหมด พอโพรมีเทียสสร้างมนุษย์ปรากฏว่าไม่มีพรเหลืออยู่แล้ว โพรมีเทียสจึงให้พรด้วยตนเอง (บางตำราก็ว่าอะทีนาเป็นผู้ประสาทพรให้) หลังจากที่โพรมีเทียสได้ขโมยไฟไปให้มวลมนุษย์ ซูสได้วางแผนที่จะแก้แค้นเขาด้วยการสร้างสตรีนางแรกขึ้นเพื่อแก้แค้นพวกมนุษย์ซึ่งในขณะนั้นมีแต่ผู้ชาย เหล่าเทพเจ้าทุกพระองค์ได้มอบของขวัญล้ำค่าให้นาง และนางเป็นผู้มีรูปโฉมสะคราญตาจนไม่มีใครปฏิเสธได้ นางได้รับการขนานนามว่า แพนโดรา หรือที่แปลว่า ของขวัญทั้งมวล ซูสได้มอบนางให้เป็นของขวัญแก่โพรมีเทียสแต่เขาปฏิเสธเพราะรู้ว่าสตรีจะนำความวิบัติมาให้ แต่เอพะมีธีเอิสผู้เบาปัญญารับนางเป็นภรรยา และก่อให้เกิดความพินาศในหมู่มนุษย์ในเวลาต่อมา jumbo jili…
โพรมีเทียส หรือ โพรมีทีอูส (อังกฤษ: Prometheus, กรีก: Προμηθεύς แปลว่า มองการณ์ไกล) เป็นเทพไททันองค์หนึ่งที่มีความเฉลียวฉลาด เป็นผู้ขโมยไฟจากเฮสเทีย เทพีแห่งเตาไฟ ลงไปให้มนุษย์ จึงทำให้มนุษย์รู้จักใช้ไฟในการหุงหาอาหารและใช้เพื่อแสงสว่างจนสามารถสร้างอารยธรรมต่างๆ ได้ จึงทำให้ซูสโกรธและลงโทษโพรมีเทียสด้วยการขังไว้ในถ้ำบนคอคาซัส และมีนกอินทรียักษ์มาจิกกินตับของโพรมีเทียสทุกวันโดยที่ไม่ตาย และทุกคืนตับของโพรมีเทียสจะงอกใหม่เพื่อให้นกอินทรียักษ์จิกกินในวันรุ่งขึ้น แต่สำหรับมนุษย์แล้ว โพรมีเทียสถือว่าเป็นเทพที่กล้าหาญและเป็นเพื่อนที่ดีต่อมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องและนับถือในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (อังกฤษ: Hestia; กรีกโบราณ: Ἑστία, “เตาอิฐ” หรือ “บริเวณข้างเตาไฟ”) ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง…
ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก ไททันเซลีนี (อังกฤษ: Selene ภาษากรีก: Σελήνη แปลว่า “ดวงจันทร์”) เป็นเทพีแห่งดวงจันทร์ดั้งเดิมและเป็นพระธิดาของไททันไฮเพอร์เรียน (Hyperion) และไททันธีอา (Theia) แต่ในตำนานเทพปกรณัมโรมัน เทพีแห่งดวงจันทร์คือเทพีลูน่า (Luna) เหมือนเช่นเทพและเทพีแห่งดวงจันทร์องค์อื่นๆ ไททันเซลีนีมีบทบาทอย่างมากในวิหารของนาง อย่างไรก็ตาม ไททันเซลีนีกลับถูกแทนที่โดยเทพีอาร์เทมิส (Artemis) ส่วนเทพีลูน่าก็ถูกแทนที่โดยเทพีไดอาน่า (Diana)อาร์เตมิส (กรีกโบราณ: Ἄρτεμις) หรือ อาร์ทิมิส (อังกฤษ: Artemis) เป็นหนึ่งในเทพีกรีกโบราณที่มีการบูชาแพร่หลายที่สุด เปรียบได้ดั่งเทพีไดแอนาของโรมัน นักวิชาการเชื่อว่าทั้งพระนาม รวมทั้งองค์เทพเจ้าเอง เดิมมีมาแต่ก่อนสมัยกรีก ชาวอาร์คาเดียเชื่อว่าพระนางทรงเป็นพระธิดาของดิมีเทอร์ ในเทพปกรณัมกรีกสมัยคลาสสิก มักอธิบายว่าอาร์เตมิสทรงเป็นพระธิดาของซูสและลีโต และทรงเป็นน้องสาวฝาแฝดของอะพอลโล พระองค์เป็นพระเจ้าแห่งการล่า สัตว์ป่า ป่าเถื่อน…
เทพไททัน เป็นเทพสิบสององค์ที่เรืองอำนาจในช่วงยุคทอง (Golden Age) และถูกล้มล้างอำนาจไปโดยเทพโอลิมปัส (Olympian) เทพไททันตามตำนานของชาวกรีก ตามตำนานของชาวกรีกเป็นเทพรุ่นเก่าซึ่งถูกชิงอำนาจไปโดยเหล่าเทพโอลิมเปียน เหล่าเทพไททันเป็นบุตรของไกอา และยูเรนัส มีจำนวน 12 องค์ คือ 1.โอเชียนัส 2.โคไออัส 3.ไครอัส 4.ไฮเพอเรียน 5.ไออาพีทัส 6.ไธอา 7.รีอา 8.ธีมิส 9.นีโมซินี 10.ฟีบี 11.ทีธิส และ 12.โครนอส และในภายหลังได้มีการเพิ่ม ไดโอนี เข้ามาเป็นเทพีไททันองค์ที่ 13 ด้วย เทพไททันเป็นหนึ่งในบรรดาลูกของไกอาที่ถูกยูเรนัสโยนลงไปในพื้นใต้พิภพ ไกอาเคียดแค้นกับการกระทำของยูเรนัสมาก จึงได้ชักชวนบุตรของตนให้รวมตัวกันล้มล้างอำนาจของยูเรนัส โครนอสผู้เป็นบุตรองค์สุดท้องอาสาที่จำทำการกบฏนี้ และล้มล้างอำนาจของยูเรนัสได้สำเร็จ โครนัสจึงได้ชักชวนเหล่าเทพไททันอื่น ๆ ให้ขึ้นมาครอบพื้นพิภพ…
ซีมีลี (อังกฤษ: Semele) ในตำนานเทพเจ้ากรีก ซีมีลีเป็นธิดาของแคดมุสและฮาร์โมเนีย เป็นมนุษย์ที่มีความสง่างามมากจึงเป็นที่ถูกใจของเทพซูส แต่เทพซูสกลัวว่านางเฮรา มเหสีเอกของตนจะจับได้ จึงกลายร่างเป็นชายหนุ่มรูปงามและได้มีความสัมพันธ์กันและได้นางซีมีลีมาเป็นชายาอีกองค์ ต่อมานางเฮราได้พบเข้า จึงแปลงกายเป็นหญิงชราซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของนางซีมีลี และได้สอบถามว่าใครคือพ่อของลูกในท้องของนางซีมีลี นางซีมีลีจึงบอกว่าเป็นเทพซูสแห่งเขาโอลิมปัส นางเฮราจึงคิดกลอุบายให้นางซีมีลีไปสัญญาต่อแม่น้ำสติ๊กซ์ เมื่อเทพซูสได้ทราบเรื่องแล้วจึงไม่อาจจะขัดขืนได้จึงแปลงกายกลับ จึงทำให้รัศมีที่เจิดจ้าทำให้นางซีมีลีถูกแสงรัศมีเผาจนหมด ส่วนเทพซูสนั้นรีบเก็บครรภ์ของนางซีมีลีไว้ที่ต้นขา เนื่องจากกลัวว่านางเฮราจะจับได้ ต่อมาซูสได้ตั้งชื่อบุตรว่าไดโอไนซูส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นหรือไวน์ไดอะไนซัส (อังกฤษ: Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; กรีกโบราณ: Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1,500–1,100 ปีก่อน ค.ศ. ร่องรอยลัทธิประเภทไดอะไนเซียพบได้ในอารยธรรมไมนวนบนเกาะครีต จุดกำเนิดของพระองค์นั้นไม่แน่ชัด และลัทธิของพระองค์มีหลายรูปแบบ แหล่งข้อมูลโบราณบางแหล่งอธิบายว่าเป็นของชาวเทรซ บางแหล่งก็อธิบายว่าเป็นของชาวกรีก ในบางลัทธิ…
เฮเลน (Helen, ภาษากรีกว่า Ἑλένη – Helénē) คือหญิงสาวผู้เป็นชนวนศึกในสงครามเมืองทรอย ปกรณัมเก่าแก่ของกรีก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานมหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ ส่วนใหญ่มักเรียกชื่อนางว่า เฮเลนแห่งสปาร์ตา หรือ เฮเลนแห่งทรอย นางเป็นบุตรีของเทพซูสกับนางลีดา มีพี่ชายคือแคสเตอร์ พอลลักซ์ และคลีเทมเนสตรา เมื่อเฮเลนเติบโตถึงวัยวิวาห์ บิดามารดาได้จัดพิธีเลือกคู่ให้แก่นาง โดยมีกษัตริย์ เจ้าชาย และนักรบจากเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นกรีกมาร่วมงาน ได้แก่ โอดิซูส เมเนสทีอัส ไดโอมีดีส อจักซ์ ปโตรกลัส เมนนิเลอัส และอักกะเมมนอน นางเลือกเมนนิลิอัสเป็นคู่วิวาห์ ส่วนกษัตริย์อื่นต่างให้สัญญาว่าจะคอยช่วยปกป้องนางเฮเลนมีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ เมื่อครั้งปารีสแห่งทรอยเป็นผู้ตัดสินความงามระหว่างเหล่าเทพี อโฟรไดท์สัญญาว่าจะให้นางเฮเลนแก่เขาหากเขาเลือกให้พระนางเป็นเทพีผู้งามที่สุด เหตุนี้ปารีสจึงมาชิงตัวเฮเลนไปเสียโดยความช่วยเหลือของเทพเจ้า แล้วพานางหนีกลับไปเมืองทรอย ทำให้เหล่ากษัตริย์ที่ได้ให้สัตย์ไว้ต่อเมนนิลิอัส ต้องยกทัพมาช่วยเหลือเพื่อชิงนางเฮเลนกลับคืนสงครามกรุงทรอย (อังกฤษ:…