ฮีบี (อังกฤษ: Hebe /ˈhibi/; กรีก: Ήβη) เป็นเทพีในตำนานเทพเจ้ากรีกที่เทียบเท่ากับจูเวนทัสในตำนานเทพเจ้าโรมัน เทพีฮีบีเป็นเทพีแห่งความเยาว์วัยผู้เป็นบุตรีของเทพซูสและเทพีฮีรา ผู้มีตำแหน่งเป็นผู้ถวายพระสุทธารส (cupbearer) สำหรับเทพและเทพีแห่งยอดเขาโอลิมปัส คู่กับแกนีมีด จนกระทั่งแต่งงานกับเฮราคลีสประมวลเรื่องปรัมปรากรีก (กรีกโบราณ: ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นประมวลเรื่องปรัมปราของอารยธรรมกรีกโบราณ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานประมวลเรื่องปรัมปราขึ้น ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น…
ในเทพปกรณัมกรีก เพอร์เซโฟเน่ (อังกฤษ: Persephone /pərˈsɛfəniː/; กรีก: Περσεφόνη) หรือเรียก คอรี (อังกฤษ: Kore /ˈkɔəriː/; “หญิงโสด”) เป็นพระธิดาของซูส และเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ดีมิเทอร์ และราชินีแห่งโลกหลังความตาย โฮเมอร์อธิบายว่าพระองค์เป็นราชินีแห่งโลกหลังความตายผู้น่าเกรงขามและน่าเคารพนับถือ ผู้บันดาลให้คำสาปของมนุษย์บังเกิดผลต่อวิญญาณของผู้วายชนม์ เพอร์เซฟะนีถูกเฮดีส ราชาแห่งโลกบาดาล ลักพาตัว ตำนานการลักพาของพระองค์เป็นการแสดงว่าหน้าที่ของพระองค์เป็นบุคคลวัตของพืชพรรณซึ่งงอกในฤดูใบไม้ผลิและถอนคืนสู่พิภพหลังเก็บเกี่ยว ฉะนั้นพระองค์จึงยังสัมพันธ์กับฤดูใบไม้ผลิและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณในศาสนาและตำนานกรีกโบราณ ดิมีเทอร์ (อังกฤษ: Demeter, /dɨˈmiːtɚ/; Gay) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ผู้ดูแลธัญพืชและความอุดมสมบูรณ์ของปฐพี ชื่อลัทธิบูชาของพระนางรวมถึงซิโต (Σιτώ) “สตรีแห่งธัญพืช” ในฐานะผู้ประทานอาหารหรือธัญพืช และเธสมอฟอรอส (θεσμός “thesmos”: ระเบียบสวรรค์, กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร;…
คิวปิดและไซคี (อังกฤษ: Cupid and Psyche) เป็นเรื่องจากนวนิยายละติน Metamorphoses หรืออีกชื่อหนึ่งว่า The Golden Ass เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 โดย แอพยูเลียส เนื้อหาว่าด้วยการเอาชนะอุปสรรคต่อความรักระหว่างไซคี (กรีก: Ψυχή, “วิญญาณ” หรือ “ลมหายใจแห่งชีวิต”) และคิวปิด (ละติน: Cupido, “ความปรารถนา”) หรืออมอร์ (“ความรัก”, ตรงกับอีรอสของกรีก) และอยู่กินร่วมกันหลังสมรสในที่สุด แม้เรื่องเล่าโดยละเอียดของแอพยูเลียสจะเป็นชิ้นเดียวที่เหลือรอดจากยุคโบราณก็ตาม แต่อีรอสและไซคีปรากฏในศิลปะกรีกตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล องค์ประกอบทางลัทธิเพลได้ใหม่ของเนื้อเรื่องและการอ้างอิงถึงศาสนามิสเตอรีส์นำไปสู่การตีความอันหลากหลาย และถูกวิเคราะห์ว่าเป็นอุปมานิทัศน์ในรูปของนิทานพื้นบ้าน เทพนิยาย และตำนาน ตั้งแต่นวนิยายของแอพยูเลียสถูกค้นพบอีกครั้งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เรื่องราวของคิวปิดและไซคี ถูกเล่าใหม่ในรูปแบบของกวีนิพนธ์…
แอโฟรไดที (อังกฤษ: Aphrodite, ออกเสียง: /ˌæfrəʊˈdaɪti/; กรีก: Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัสมีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส)…
เรีย หรือ เรอา (อังกฤษ: Rhea, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /rɪə, ˈriːə/) เป็นเทพีไททัน ซึ่งเป็นธิดาของเทพยูเรนัสกับเทพีไกอา พระนางแต่งงานกับโครนัส เทพไททันผู้เป็นพี่ชาย และได้รับการขนานนามว่า “เทพมารดา” รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 องค์ตามตำนานกรีกกล่าวว่าเรียเป็นธิดาของเทพีไกอาและเทพยูเรนัส เป็นหนึ่งในเหล่าเทพไททันที่ถูกเทพยูเรนัสผู้เป็นบิดาโยนลงไปในทาทะรัสพร้อมกับเหล่าอสุรกาย และได้กลับขึ้นมาบนพื้นพิภพอีกครั้งเมื่อโครนัส ไททันองค์สุดท้องอาสาปราบยูเรนัสและยึดอำนาจของยูเรนัสมาเป็นของเหล่าไททัน ส่วนในตำนานของชาวเพลาสกันได้กล่าวว่ายูริโนมี เทพีองค์แรกได้ถือกำเนิดขึ้นและสร้างเหล่าไททันขึ้น เรียเป็นหนึ่งในไททัน มีหน้าที่ดูแลดาวเสาร์ร่วมกับโครนัสผู้ป็นสามี เรียและโครนัสภายหลังจากการกอบกู้เหล่าไททันของโครนอส โครนัสก็ได้แต่งตั้งให้เรียเป็นชายา และเป็นราชินีของเทพทั้งปวง แต่เนื่องจากหลังจากโครนัสได้กำจัดยูเรนัสลงแล้ว ไม่ได้ช่วยเหลือเหล่าอสุรกายผู้เป็นบุตรของไกอาดังที่สัญญากับไกอาไว้ ไกอาจึงสาปให้บุตรของโครนอสที่เกิดจากเรียช่วงชิงบัลลังก์ของโครนอส เช่นเดียวกับที่โครนอสได้ช่วงชิงบัลลังก์จากยูเรนัส บุตรของเรีย เนื่องจากคำสาปของไกอา โครนอสจึงหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาและเมื่อเรียคลอดบุตรออกมา โครนอสก็กลืนเทพที่ถือกำเนิดขึ้นมานั้นลงไปทั้งตัว เรียได้แต่เคียดแค้น จนเมื่อบุตรองค์สุดท้องของเรียถือกำเนิดขึ้น…
โครนัส หรือ โครนอส (อังกฤษ: Cronus หรือ Kronus, /kroʊnəs/; ภาษากรีกโบราณ: Κρόνος, Krónos) เป็นผู้นำเหล่ายักษ์ไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีไกอา (Gaia) พระแม่ธรณี และเทพบิดายูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องฟ้า เทพโครนัสได้โค่นบัลลังก์ของพระบิดา (เทพยูเรนัส) และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง จนกระทั่งถูกโค่นบัลลังก์โดยพระโอรสของตน คือ เทพซูส (Zeus) เทพโครนัสมิได้ถูกจองจำในยมโลกทาร์ทารัส (Tartarus) เหมือนเช่นไททันตนอื่น ๆ แต่เขากลับหลบหนีไปได ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทองของเขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล…