บุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในการเล่นพนัน มีอยู่ 2 ฝ่าย คือ ผู้จัดให้มีการเล่น และผู้เล่น ผู้จัดให้มีการเล่น หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า เจ้าสำนัก หรือเจ้ามือ ตามมาตรา 5 นั้น จะต้องดูเจตนาโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นหลัก ซึ่งถ้าเป็นการกระทำความผิดตามบัญชี ก. จะมีความผิดทันที เพราะกฎหมายกำหนดให้ห้ามเล่นโดยเด็ดขาดเว้นแต่รัฐบาลจะอนุญาตให้เล่น ณ สถานที่ใดโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ส่วนการกระทำความผิดตามบัญชี ข. ที่เป็นเรื่องของการได้รับอนุญาต จะเป็นความผิดต่อเมื่อหากมีการเล่นที่พลิกแพลงผิดเงื่อนไขจากที่ตนได้รับอนุญาต ก็จะเป็นความผิดตามมาตรา 12 ซึ่งความผิดของผู้จัดให้มีการเล่นการพนันจะไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเพิ่มอีกกรณีหนึ่ ผู้เล่น หมายถึง ผู้อยู่ในวงการเล่นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้เล่นการพนันหรือผู้ดูการพนันซึ่งเป็นปัญหาที่จะพิสูจน์ได้ยากผู้ที่อยู่ในวงการเล่นคนใดเป็น ผู้เล่นพนันบ้าง กฎหมายจึงได้กำหนดข้อสันนิษฐานไว้ตามมาตรา 6 ว่าแม้จะไม่ได้เล่นด้วยแต่อยู่ในวงการเล่นก็ถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้เล่นด้วย เว้นแต่ผู้ซึ่งเพียงแต่ดูการเล่นในงานรื่นเริงสาธารณะหรืองานนักขัตฤกษ์ หรือในที่สาธารณสถาน ส่วนความผิดตามมาตรา 5 ที่กำหนดข้อสันนิษฐานไว้ว่าผู้ใด เข้าเล่นอยู่ด้วยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นพนันเอาเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งวิธีที่จะใช้ในการสืบหักล้างเพื่อให้พ้นความผิดในฐานเป็นผู้เล่น คือ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนไม่อยู่ในวงการเล่น และไม่ได้เข้าพนันเอาเงินและทรัพย์สินด้วย
ส่วนวงการเล่นและสถานที่เล่นการพนัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญควบคู่กับผู้เล่นตามมาตรา 6 นั้น เห็นว่า วงการเล่นพนันหมายถึงพื้นที่ที่ผู้เล่นการพนันห้อมล้อมอยู่ในวงการเล่นมีเครื่องเล่นการพนัน สินพนันสำหรับการเล่นพนัน แต่ในบางกรณีวงเล่นอาจไม่อยู่ในที่ห้อมล้อมของผู้เล่นก็ได้ เช่น การเล่นพนันสลากกินรวบไม่ต้องมีวงการเล่น การเล่นการพนันแข่งม้าก็ไม่มีวงการเล่นเป็นรูปเป็นร่าง แต่จากการกระทำและความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดให้มีการเล่นกับผู้เล่นนั่นเองคือ วงการเล่น การที่จะวินิจฉัยได้ว่าผู้เล่นคนใดอยู่ในวงการเล่น ต้องดูว่าสถานที่นั้นเป็นวงพนันหรือไม่ หากไม่เป็นวงพนันก็จะไม่มีผู้เล่นตามมาตรา 6
ข้อยกเว้นของข้อสันนิษฐานในมาตรา 6 จะใช้เป็นข้อสันนิษฐานไม่ได้ถ้าปรากฏว่าสถานที่เล่นการพนันนั้นเป็นงานรื่นเริงสาธารณะ หรืองานนักขัตฤกษ์ หรือในที่สาธารณสถาน ที่กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้น่าจะเป็นเพราะในสถานที่ดังกล่าวอาจจะมีผู้คนพลุกพล่าน และผู้คนส่วนมากก็มาเดินดูการละเล่นต่างๆ ถึงแม้จะมีการเล่นการพนันแต่ก็คงจะเดินเข้าไปดูแล้วก็เดินผ่านไป คณะกรรมการชุดดังกล่าวเริ่มงานตั้งแต่ พ.ศ. 2451 นั้นเอง โดยวางโครงสร้างทั่วไปของประมวลกฎหมาย ก่อนจะประชุมหารือกันว่าจะจัดทำเป็นประมวลกฎหมายสองฉบับ ประมวลฉบับแรกว่าด้วยเรื่องหนี้ อีกฉบับว่าด้วยเรื่องอื่น เช่นที่เป็นอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศตูนีเซีย และประเทศโมรอกโก หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติว่าให้จัดทำเป็นประมวลกฎหมายฉบับเดียวที่ว่าด้วยเรื่องทางแพ่งและพาณิชย์ทั้งหมดจะเหมาะสมกว่า แล้วจึงเริ่มลงมือร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้แก่ราชอาณาจักรสยาม จนกระทั่ง พ.ศ. 2457 ชอร์ช ปาดู เดินทางกลับไปยุโรปและได้แนะนำเดแลสเตร (Délestrée) แก่ทางการไทยให้รับหน้าที่แทนตน ปรากฏว่าเดแลสเตรผู้นี้ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะดำเนินการยกร่าง ซ้ำเขายังรื้อโครงการที่ชอร์ช ปาดู และคณะทำไว้ก่อนหน้า ทำให้ร่างประมวลกฎหมายเกิดความอลเวง และการดำเนินงานเป็นไปโดยเชื่องช้าอย่างถึงที่สุด เมื่อชอร์ช ปาดู เดินทางกลับมาใน พ.ศ. 2459 ถึงกับตกตะลึงที่รับทราบว่างานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยุ่งเหยิงถึงเพียงนั้น ทั้งที่ตนได้วางระเบียบไว้ตั้งแต่แรกแล้ว เขาถึงเจรจราให้เดแลสเตรลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนเสีย เพื่อเขาจะได้กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้ง และแล้ว งานร่างประมวลกฎหมายก็ดำเนินต่อไป และใน พ.ศ. 2459 นั้นเอง จึงได้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สองบรรพแรก คือ บรรพ 1 หลักทั่วไป และบรรพ 2 หนี้ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าในระหว่างห้วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลสยามต้องสูญเสียงบประมาณไปถึง 770,000 บาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินมหาศาลในกาลครั้งนั้น แต่กลับได้ร่างกฎหมายเพียงแค่สองบรรพ
เนื่องจากร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จัดทำเป็นภาษาอังกฤษก่อนจะแปลเป็นภาษาไทย ร่างทั้งสองบรรพนั้นจึงได้รับการส่งต่อมาให้แก่คณะกรรมการตรวจภาษา ซึ่งประกอบด้วยโดยกรรมการตรวจภาษาซึ่งเป็นชาวสยามนั้น ทรงเป็นและเป็น “เปรียญเก้าประโยค” ทุกพระองค์และคน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สำหรับบัญญัติศัพท์กฎหมายใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในกฎหมายไทยเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ดี ในที่ประชุมของคณะกรรมการชุดนี้มีความแตกแยกกันทางความคิดเห็นอย่างรุนแรง หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร ทรงเกรงว่าหากดำเนินการประชุมต่อไปจะเกิดบาดหมางกันใหญ่โต จึงทรงสั่งเลิกประชุม และไม่มีการประชุมอีกเป็นระยะหนึ่ง จนกระทั่งหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2451 นั้น โดยสาเหตุคาดว่ามาจากความขัดแย้งดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมคนใหม่ และรับหน้าที่ประธานคณะกรรมการชุดนี้ต่อไป
คณะกรรมการร่างกฎหมายชุดที่สอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ในปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้คณะกรรมการร่างกฎหมายที่ประกอบด้วยชาวฝรั่งเศสทั้งหมดพ้นจากตำแหน่ง และทรงแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อจัดการกับร่างเดิมทั้งสองบรรพให้เรียบร้อย ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ และมีการกำหนดอัตราเงินเดือนกรรมการยกร่างชุดนี้ไว้อย่างชัดเจนด้วย โดยกรรมการชาวต่างประเทศให้ได้รับเงินเดือนอย่างสูงเดือนละ 1,800 บาท หากได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการแล้วจะได้เดือนละ 2,000 บาท ขณะที่กรรมการฝ่ายสยามได้เดือนละ 400 บาทเฉพาะเดือนที่ปฏิบัติหน้าที่